พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce )

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce )
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce )
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce )

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce ) เป็นการทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบออนไลน์ โดยรวมไปถึงการขายสินค้า และบริการ การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในรูปแบบของดิจิทัลออนไลน์ การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การจำหน่ายหุ้น การให้บริการหลังการขายและการประมูล เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้กับสินค้าและบริการพวก บริการด้านกฎหมาย การศึกษา อุปกรณ์ทางการแพทย์ บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกด้วย   E-Commerce  

ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับ E-Commerce

เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลให้ธุรกิจบนโลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมาก เพราะธุรกิจออนไลน์นั้นเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่เปิดกว้างอย่างไร้พรมแดน นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง อีกทั้งยังสะดวกรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา หรือสถานที่  

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ดังนี้ Business to Business (B  to  B) เป็นรูปแบบการทำธุรกิจระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ โดยจะเป็นการขายคราวละมากๆ Business to Consumer (B-to-C) เป็นรูปแบบการทำธุรกิจระหว่างธุรกิจกับลูกค้าโดยตรง โดยหลักๆ จะเป็นการขายส่งสินค้า Consumer to Consumer (C-to-C) เป็นรูปแบบการทำธุรกิจระหว่างบุคคลกับบุคคลด้วยกัน โดยจะเป็นลักษณะของการค้าปลีกเป็นส่วนใหญ่ Government to Consumer (G-to-C) เป็นรูปแบบการทำธุรกิจระหว่างภาครัฐกับผู้บริโภค โดยมักจะเป็นการให้บริการประชาชน G-to-B (Government to Business) เป็นรูปแบบการค้าระหว่างภาครัฐกับองค์กร โดยจะเป็นการขายในปริมาณมากๆ  

ด้านความปลอดภัยกับ E-Commerce

ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่ง และผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจง จึงทำให้สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รวมทั้งรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งจะปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) หรือที่เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ที่หลายๆ ประเทศในยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็มีการเร่งออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง   E-Commerce   สรุปแล้ว พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการผสมผสานเทคโนโลยี Internet เข้ากับการจำหน่ายสินค้า และบริการ โดยใช้ Internet เป็นสื่อกลางในการซื้อขาย หรือบริการ อย่างรวดเร็วนั่นเอง สำหรับท่านที่สนใจในการสร้างธุรกิจออนไลน์ หรือ การโฆษณาประเภทต่างๆ บนโลกออนไลน์ สามารถขอคำปรึกษาหรือติดตามอ่านความรู้ดีๆ ได้ฟรีที่นี่เลยค่ะ