ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C (Marketing Model)

ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C (Marketing Model)
ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C (Marketing Model)
ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C (Marketing Model)

บรรดานักการตลาด หรือผู้ที่สนใจด้านการตลาด คงจะคุ้นเคยกับคำว่า 4P อยู่แล้ว 4P คือ Marketing Model หรือรูปแบบส่วนประสมทางการตลาด ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างยาวนานหลายสิบปีแล้ว ต่อมาในยุคหลังๆ ก็ได้มีการสร้างโมเดลใหม่ๆ ขึ้นมา โดยอิงจากโมเดลเดิม วันนี้จะเอา 4C ซึ่งในปัจจุบัน ได้กลายเป็นอีกหนึ่งแนวคิดสำคัญของการบริหารธุรกิจ และความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C มาเล่าให้ฟังกันค่ะ

ก่อนที่จะไปดูว่า ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C นั้น

เรามาทำความเข้าใจกับส่วนประสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix Model กันก่อนค่ะ Marketing Mix คือองค์ประกอบสำคัญของการบริหารงานทางด้านการตลาดสำหรับธุรกิจต่าง ๆ หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือองค์ประกอบสำคัญๆ ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ  Marketing Mix เหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดในการมองภาพกว้าง

เพราะสามารถเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เจ้า Marketing Mix นี้ ได้มีการคิดกันมานานแล้ว และถูกนำมาพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  โดยมีตั้งแต่ 4Ps 4Cs และล่าสุดก็มีการพูดถึง 4Es นั่นเอง  โดยในวันนี้ ขอนำเอา  4Cs มาเล่าให้ฟังก่อน

4Cs (Consumer-Cost-Communication-Convenience)

1. Consumer wants and needs (เทียบได้กับ Product ใน 4P)

ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C ในมุมมองของ 4C นั้น จะให้ความสำคัญกับส่วนของผู้บริโภคมากกว่าจะเน้นที่ตัวสินค้าเหมือนในอดีต ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ใช่คนทุกคนที่จะมาเป็นลูกค้าของเรา ทำให้นักธุรกิจต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากขึ้น

ซึ่งในส่วนของ Customer จะเป็นการหาว่าจริงๆแล้ว ผู้บริโภคนั้นกำลังมองหาอะไร หรือต้องการอะไรจากสินค้าและ บริการของเรา รวมทั้งสินค้าของเราตรงตามความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่

2. Cost ( เทียบได้กับ Price ใน 4P)

ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C โดย Brand DooDee Cost  หรือราคา ที่พูดถึงนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของตัวเงิน แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกค้าจำเป็นต้องแลกมา เพื่อจะได้ใช้สินค้านั้นนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของเวลา ความรู้สึกต่าง ๆ ด้วย ซึ่งในมุมมองของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า จะมีการเปรียบเทียบระหว่างราคาสินค้า กับคุณภาพที่ได้รับว่า “ ซื้อไปแล้วคุ้มหรือไม่ ? ” ดังนั้น การตั้งราคาควรตั้งให้สอดคล้องกับคุณภาพ ไม่ใช่ตั้งราคาโดยมองแค่เพียงด้านต้นทุนการผลิตเท่านั้น

3. Communication (เทียบได้กับ Promotion ใน 4P)

ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C โดย Brand DooDee แม้ความหมายอาจจะคล้ายกับ Promotion ใน 4P แต่มุมมองของ 4C นั้นไม่ใช่เรื่องการพยายาม “ กล่อม ” หรือ “ ชี้นำ ” ผู้บริโภคแบบ Promotion แต่ Communication จะเน้นในเชิงของการสื่อสาร “ ร่วม ” ไปกับผู้บริโภค

กล่าวคือสื่อสารในสิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หรือ ไลฟ์สไตล์ ของเขานั่นเอง ในขณะที่ Promotion เป็นการทำให้ลูกค้ารู้จักสินค้าของเรามากขึ้น  แม้ว่าสินค้านั้นอาจจะไม่ได้เหมาะกับลูกค้ารายนั้นๆ ก็ตาม

4. Convenience (เหมือนกับ Place ของ 4P)

ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C สำหรับ 4C ที่เกิดขึ้นมาในยุคที่มี Internet แล้วนั้น ทำให้สถานที่จำหน่าย หรือช่องทางในการเข้าถึงสินค้า และบริการไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกายภาพ (Physical) อีกต่อไป  ทำให้นักการตลาดต้องมองถึงการอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเราได้สะดวกยิ่งขึ้น

พูดง่ายๆ ก็คือ Convenience เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งคล้ายกับ Place ใน 4P แต่เน้นไปที่ความสะดวกของผู้บริโภค เช่น การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลายช่องทางขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการของเราได้ง่ายขึ้น คำว่า Convenience นี้ยังครอบคลุมไปถึงวิธีการชำระเงินเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์ด้วย โดยสรุปแล้ว 4C คือ อีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยม

โดยเป็นการต่อยอดมาจาก 4P นั่นเอง รูปแบบกลยุทธ์ของ 4P นั้นเป็นมุมมองจากฝั่งผู้ผลิตสินค้าเป็นหลัก ขณะที่กลยุทธ์ 4C นั้น เป็นการเปลี่ยนมาเป็นมุมมองจากฝั่งผู้บริโภคแทน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถตอบโจทย์ได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของตลาดจากตลาดมวลฃน (Mass Market)ในอดีตมาเป็นรูปแบบใหม่ที่มีเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง  

ทำให้นักการตลาดเริ่มมีการปรับเปลี่ยนรูปวิธีคิดจากที่มีธุรกิจของตนเป็นศูนย์กลาง ( Business Centric ) ให้กลายมาเป็นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ( Customer Centric ) มากขึ้น จึงกลายเป็นที่มาของ 4C ในปัจจุบัน

ป้ายกำกับ: , ,