กลยุทธ์การตลาด แบบ 10P นี้ได้มีการต่อยอดมาจาก 4P ที่เราคุ้นเคยกันของ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ปรมาจารย์ด้านการตลาดที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก โดย 4P ถูกนำไปใช้ไปอย่างแพร่หลายในอดีต แต่มาถึงยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยหลายๆ ปัจจัย ที่เปลี่ยนไป ทำให้กลยุทธ์ 4P นั้นไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป
จึงเป็นเหตุผลให้นักวิชาการทางด้านการตลาดได้คิดค้น พัฒนาต่อยอด 4P ให้สามารถตอบสนองต่อธุรกิจในโลกปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น โดยวันนี้ iGITAL GEEK ขอนำท่านมารู้จักกับกลยุทธ์การตลาดแบบ 10P ที่มีการพัฒนาจาก 4P อันเดิม สำหรับในส่วนของ P ทั้ง 4 ตัวก่อนหน้านี้ ท่านสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ที่ ลิงค์นี้ครับ กลยุทธ์ธุรกิจแบบ 4P
1.Product Strategy กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ นั้นเป็นสิ่งแรกที่นักการตลาดจำเป็นต้องมี ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อีกด้วย รวมทั้งต้องมีการพัฒนาต่อยอดอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยได้นั่นเอง
2.Price Strategy กลยุทธ์ราคา
ราคาเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การตั้งราคาที่เหมาะสมจะทำให้สามารถรับมือกับการแข่งขันของตลาดได้
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กนั้น การกำหนดราคาขายของสินค้าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากราคานั้น เป็นสิ่งที่ใช้วัดค่า และประโยชน์ของตัวสินค้า และยังเป็นตัวกำหนดว่าเราจะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในทิศทางใดได้บ้าง เราจะขายสินค้าได้อย่างไร จำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ราคาขายจะเป็นเครื่องบ่งชี้การทำกำไรของธุรกิจนั้นๆ
เนื่องจากกำไรของธุรกิจจะคำนวณมาจาก รายรับหักลบด้วยต้นทุน นั่นเอง อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่นิยมนำมาใช้กัน อย่างแพร่หลาย คือ การให้ส่วนลด (Discount) การขายเชื่อ (Credit) และการฝากขาย (Consignment) รวมทั้งมีการใช้การตั้งราคา
โดย นโยบายการตั้งราคาแบ่งออกเป็น นโยบายราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการเสนอขายสินค้า หรือบริการในราคามาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะซื้อมากหรือน้อยก็ตาม เช่น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่งสินค้า คำนวณตามน้ำหนัก หรือธุรกิจขายสินค้าราคาเดียวทั้งร้าน (ทุกอย่าง 20 บาท)
นโยบายราคาที่แตกต่างกัน (Variable Price Policy) มีเหตุมากจากความแตกต่างในด้านคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าหรือบริการ และ ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองของลูกค้า จึงเป็นเหตุให้มีการตั้งราคาขายที่แตกต่างกัน
เช่น สินค้าที่มีคุณภาพดีกว่าจะมีราคาที่สูงกว่า สินค้าที่คุณภาพรองลงไป ตัวอย่างเช่น ราคาตั๋วชมภาพยนตร์ที่นั่งธรรมดา กับที่นั่งพิเศษ เสื้อผ้าแบรนด์ดังกับเสื้อผ้าไม่มีแบรนด์ นโยบายการกำหนดราคาขายแบบแพ็กเกจ (Multiple Unit Package Pricing Policy) เป็นการกำหนดราคาขายโดยเปรียบเทียบความแตกต่างในด้านปริมาณสินค้าที่ซื้อ
อธิบายง่ายๆ คือถ้าซื้อในจำนวนมากราคาจะถูกกว่าซื้อในจำนวนน้อย เช่น เครื่องดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สินค้าประเภทอุปโภคบริโภค นโยบายกำหนดราคาตามสายราคา (Price Lining-Policy) เป็นรูปแบบการกำหนดราคาสินค้า แบบต่อเนื่องตามขนาด และปริมานของสิ้นค้า โดยแบ่งตามขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก้พนักงานขาย และตัวลูกค้าเอง เช่น นำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน นโยบายกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา (Psychological-Pricing Policy) ธุรกิจอาจจะใช้วิธีการกำหนดราคาให้น่าสนใจ
โดยอาศัยหลักจิตวิทยาซึ่งเชื่อว่ามีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้า หรือผู้บริโภค เช่น สินค้าที่มีราคาลงท้ายเหมือนกัน 59, 89, 99 หรือสินค้าที่มีป้ายกำกับ เช่นสินค้าขายดี นโยบายกำหนดราคาจามจำนวน (Unit Pricing-Policy) เป็นรูปแบบการต้นราคาให้แตกต่าง โดยอ้างอิงจากน้ำหนักของสินค้าต่อหน่วยเป็นเกณฑ์ เช่น ซื้อสินค้าที่มีน้ำหนักที่แตกต่างกัน 100 ,50 และ 30 กรัม ตัวสินค้าจะมีราคาไม่เท่ากัน
3.Place Strategy กลยุทธ์การจัดจำหน่าย
การนำสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้า โดยยึดหลักความมีประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็ว นอกจากนี้การจัดจำหน่ายมีความสำคัญมากต่อการทำการตลาดในยุคนี้
เพราะถ้ามีสินค้า มีการตั้งราคา แต่ไม่รู้จะไปวางขายที่ไหน หรือมีการจัดจำหน่ายที่น้อย ลูกค้าก็ไม่สามารถหาซื้อได้การจัดจำหน่ายที่ดี ควรมีหลักการคือ กระจายสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด หากเป็นสินค้าที่ขายไปหลายๆ แห่งนั้น
วิธีการขาย หรือการกระจายสินค้านั้นจะสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหลักการของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มากจุดจะดีที่สุดเสมอไปเพราะขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร
4.Promotion Strategy กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด
ความสำเร็จทางด้านธุรกิจ คือ การขายสินค้า หรือบริการให้ได้มากที่สุด แต่มักจะปัญหาว่าต้องทำอย่างไร การส่งเสริมการขาย จึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ เมื่อธุรกิจทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร มีรสนิยมแบบไหน ก็จะสามารถสร้างโปรโมชั่นที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้โดยตรง แต่การส่งเสริมการขายนั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณ ด้านค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก จึงควรจะต้องพยายามให้ได้ผลลัพธ์กลับคืนมาอย่างคุ้มค่าที่สุด
ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธีที่จะสามารถช่วยได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม การโฆษณา (Advertsing) อาจจะใช้คำพูด หรือข้อความ โดยมีความหมายที่จะให้ลูกค้ามีความรู้สึกดีต่อต่อสินค้า หรือบริการนั้น รวมทั้งจูงใจให้เกิดความต้องการอยากทดลองสินค้า หรือบริการของเรา การขายโดยตรง (Direct Sales) เป็นการขายโดยเข้าไปติดต่อถึงตัวลูกค้าโดยตรง
โดยการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ของสินค้าให้ลูกค้าได้ทราบ หรือที่เรียกว่าการเสนอขาย โดยต้องอาศัยเทคนิค และวิธีการที่ทำให้ลูกค้าสนใจ การส่งเสริมการขายทางด้านลูกค้า (Consumer Promotion) เป็นการสร้างแรงดูดใจให้กับลูกค้าโดยตรง เช่น การลด แลก แจก แถม หรือการเล่นเกมเพื่อชิงรางวัล เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และมีลุ้นกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าหรือบริการของเรา
การบริการ (Service) เป็นรูปแบบการให้บริการทั้งก่อน และหลังการขาย (การอธิบายคุณลักษณะที่ดี และการใช้สินค้าก่อนลูกค้าจะทำการซื้อ เพื่อเป็นการเชื้อเชิญให้เกิดความสนใจ)
การบริการขณะขาย (การสาธิตให้ลูกค้าได้ชมก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า หรืออาจจะเป็นการให้ลูกค้าทดลองใช้ด้วยตัวเองก่อน) และการบริการหลังการขายสินค้าให้กับลูกค้า (เช่นการซ่อมบำรุง หรือตรวจสอบสินค้าเมื่อลูกค้าได้ซื้อไปแล้วโดยทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความประทับใจระยะยาว)
5.Public Relation Strategy กลยุทธ์การให้ข่าวสาร
การให้ข้อมูลข่าวสารเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ และเหมาะกับยุคสมัยนี้ที่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์
การให้ข่าวสาร ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะการให้ข่าวสารนั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อกับลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ เพิ่มทัศนคติในเชิงบวก สร้างความเข้าใจในการใช้สินค้า บริการ ให้กับ แบรนด์ได้อีกทางหนึ่งด้วย
6.Personal Strategy กลยุทธ์ด้านการใช้พนักงานขาย
เป็นกลยุทธ์ที่ต่อยอดมาจาก Promotion Strategy หรือ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด การขายโดยการใช้พนักงานขายมีความสำคัญมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ บางประเภท เพราะผลิตภัณฑ์นั้นอาจต้องอาศัยการอธิบาย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อได้ เช่น สินค้าประเภท ยา หรือ อาหารเสริม เป็นต้น การเป็นพนักงานขายที่ดี ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ ในการใช้สินค้า และมีเทคนิคในการนำเสนอสินค้า สร้างแรงจูงใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่ การตัดสินใจซื้อในที่สุด
ส่วนกลยุทธ์สำหรับเพิ่มความสามารถให้กับ พนักงานมีดังนี้ การฝึกอบรม เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ ให้กับพนักงาน รวมถึงการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการให้บริการลูกค้าด้วย การรับมือกับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เช่น เมื่อมีลูกค้าต่างชาติเข้ามาติดต่อ หรือกรณีมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเยอะเกินไปควรมีมาตรการรองรับ หรือกรณีที่ลูกค้ามาใช้บริการน้อย ควรดำเนินการแก้ไขอย่างไร
7.People Strategy กลยุทธ์เพื่อสร้างการสนับสนุนจากผู้คน
กลยุทธ์เพื่อสร้างการสนับสนุน จากกลุ่มเป้าหมาย หรือคนในพื้นที่ที่ต้องการจัดจำหน่าย เพื่อสร้างเพิ่มทัศนคติในเชิงบวก ไม่ให้เกิดการต่อต้านแบรนด์ของเราในตลาด ซึ่งในยุคหลังๆ เจ้าของกิจการ และนักธุรกิจ ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการทำ CSR “Corporate Social Responsibility” หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำธุรกิจ อีกทั้งยังทำให้เกิดการสนับสนุนของผู้คนในพื้นที่ที่ผลิตภัณฑ์ของเราจำหน่ายอีกด้วย
8.Packaging Strategy กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์
สิ่งที่สำคัญของกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ คือ การออกแบบที่สวยงาม มีความน่าเชื่อถือ โดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ ของคู่แข่ง เมื่อนำไปวางขายสามารถดึงดูดความความสนใจ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ส่วนในด้านของร้านค้าออนไลน์นั้น กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ยังรวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยของสินค้าในส่วนของการจัดส่งรวมอยู่ด้วย เพราะการส่งสินค้าในระยะทางไกลนั้นอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรจัดการห่อสินค้าเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความประทับใจ และทำให้ลูกค้า มีทัศนคติที่ดีต่อร้านค้าออนไลน์ของเรา
9.Partners Strategy กลยุทธ์คู่ค้าหรือกลยุทธ์หุ้นส่วน
การมีคู่ค้าหรือหุ้นส่วน นั้นสามารถช่วยให้เราดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นยิ่งขึ้น เพราะหุ้นส่วนนอกจากจะช่วยในการลงทุนของเราแล้ว ยังช่วยให้คำปรึกษาช่วยคิดในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย ยิ่งหากเราทำธุรกิจข้ามชาติ หรือธุรกิจระหว่างประเทศ ยิ่งต้องให้ความสำคัญ กับ Partners Strategy ด้วย เนื่องจากกฎหมายในบางประเทศนั้น มีข้อจำกัดอยู่ ซึ่งหากมีหุ้นส่วนอยู่ในประเทศนั้นๆ ก็จะสามารถได้สิทธิต่างๆ ตามที่กฎหมายในประเทศนั้นๆ ได้เปิดช่องไว้อีกด้วย
10.Perception Strategy กลยุทธ์ความเข้าใจ
เป็นกลยุทธ์ที่จะต้องเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ แล้วนำหลักการตลาด มาประยุกต์เพื่อให้เท่าทันต่อสถานการณ์ในขณะนั้น เพราะโลกยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร การไหลเวียนของวัตถุดิบ การไหลเวียนของสินค้า และบริการ กระจายไปทั่วทุกมุมโลก เราจะเห็นได้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่วางขายกันในประเทศไทย นั้น เราก็สามารถนำเข้าจากประเทศอื่นๆ มาวางขายได้อย่างเสรี ด้วยเหตุนี้เจ้าของกิจการ นักธุรกิจ ที่มีความเข้าใจและ ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงประสบความสำเร็จในการทำการตลาดยุคนี้
กล่าวโดยสรุป 10P คืออีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีการต่อยอดมาจาก 4P เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจในปัจจุบันนี้นั่นเอง
บริการแนะนำ
เว็บไซต์สำเร็จรูป ตอบโจทย์การทำธุรกิจออนไลน์
Google Ads - รับดูแลโฆษณา Google Adwords
LINE Sticker - รับทำสติ๊กเกอร์ไลน์
เว็บไซต์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจ SME (พร้อมใช้งานภายใน 1 วัน)